top of page
  • รูปภาพนักเขียนArthouse School

งานแสดงศิลปนิพนธ์ TALAD TILE : pastraporn/textile graduate exhibition 2019

artHOUSE เก็บภาพผลงานที่น่าสนใจส่วนหนึ่งพร้อมบทสัมภาษณ์ของเหล่าดีไซเนอร์เจ้าของผลงานจากงานตลาดไทล์มาให้ได้ดูกัน! แต่ละผลงานจะเป็นอย่างไรบ้างไปชมกันได้เลย


The Gardian

ธนุส พัฒนพณิชกุล



เริ่มต้นแนวคิดจากที่เลี้ยงสุนัขที่บ้านไว้ 2 ตัว เรารู้สึกรักเหมือนเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวเราเลย ก็เลยจุดประกายขึ้นมาว่าอยากทำเป็นชุดสุนัข

ด้วยความที่เลี้ยงเป็นระบบเปิด สุนัขก็จะคอยเฝ้าบ้านให้เรา ก็เลยให้ความรู้สึกว่าเป็นผู้พิทักษ์ ก็เลยนำแนวคิดของทวารบาลที่เป็นสิงห์คู่ โดยตัวสิงห์คู่ตามความหมายของฮวงจุ้ยจะเป็นเกี่ยวกับการต่อต้านความชั่วร้ายที่จะเข้ามาในบ้าน คนจีนจะตั้งไว้ไม่ว่าจะเป็นหน้าบ้าน อาคาร บริษัท ก็เลยได้นำอินสไปร์นี้มาทำชุดลายหิน ด้วยเทคนิคการทำเย็บเซาะ reverse abigail ใช้พื้นผิวที่แตกต่างกัน ทั้งผิวเรียบและผิวขรุขระ มีดีเทลการใช้ digital print การเย็บกด และการยัดใยสังเคราะห์เข้าไปแล้วเย็บปิดทำให้งานมีมิติขึ้น


 

FLOWED

ปรัชญา สุขสมทิพย์



งานนี้ได้แรงบันดาลใจจากวง Chladni Chandi (ชล้าดนี่ ชานดี้) เป็นวงดนตรีประเภทไซคีเดลิกและสโตนเนอร็อก ซึ่งแนวเพลงจะมีความสงบ ความรุนแรง ความเมา หลอน ๆ ไซคีเดลิกร็อกเกิดจากการที่นักดนตรีเขาเสพยาแล้วก็ถ่ายทอดออกมา

อย่างวงนี้ก็จะมีความเป็นร็อกย้อนยุคเข้ามาผสมผสาน เนื้อเพลงจะพูดถึงเรื่องศาสนา การใช้ชีวิต ก็เลยเอาดนตรีของเขามาตีความ โดยทำเป็นศิลปะสิ่งทอแบบแขวน โดยใช้เทคนิคการถักทั้งหมด โดยเลือกว่าตรงไหนควรเป็นเท็กเจอร์แบบไหน มีการถักแบบนิตติ้งและโครเชต์ ก็จะทำให้เกิดรูปแบบห่วงที่ต่างกัน คุณสมบัติของมันก็จะต่างกัน


 

สิบ-ล้อ

ระชา สำเรืองจิตร


จุดเริ่มต้นได้มาจากรถสิบล้อ เวลาที่เดินทางไปต่างจังหวัด เจอรถทั่ว ๆ ไปก็รู้สึกว่ามันจืดชืด พอเห็นรถสิบล้อ มันคันใหญ่และสีสันจัดจ้าน โดนใจเรา ก็เลยเอามาทำงานโดยตีคอนเซปต์ว่าสิบล้อเอาไว้เดินทาง ไว้ขนส่งของทางไกล ก็เลยเอามาทำเป็นกระเป๋าดีกว่า

เป็นกระเป๋าเดินทางเอาไว้บรรจุของได้เยอะ ๆ ลวดลายก็ได้มาจากลวดลายของสิบล้อ มีความลูกทุ่งนิดนึง โดยวัสดุที่ใช้จะเป็นหนังโดยใช้เทคนิคบล็อกสเตนซิลแล้วใช้สเปรย์พ่นลงไป


 

Auspiciousness

อรณิชา อมรวณิชศักดิ์


เพราะเป็นคนไทยเชื้อสายจีนเลยคิดทำเกี่ยวกับสิ่งของมงคลของจีน และมีความเชื่อเกี่ยวกับเครื่องรางที่พกติดตัวไปนอกบ้าน เลยออกแบบมาเป็นกระเป๋าให้คนได้ใช้พกออกไปนอกบ้าน แล้วกระเป๋าก็เอาไว้ใส่ของได้ด้วย

วัสดุที่ใช้ก็จะเป็นผ้าปักด้วยไหมและเลื่อม มีการปริ้นสกรีนและเลเซอร์คัท โดยทั้งลวดลาย สี รูปทรงก็ได้อินสไปร์มาจากเครื่องรางจีนทั้งหมด


 

Minor to Major

มณีรัตน์ ฉัตรชูไชยกุล


ผลงานนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากการ์ตูนเรื่องสโนว์ไวท์ เพราะชื่นชอบในเรื่องตัวละครเลยไปศึกษาว่ามีตัวละครอะไรบ้าง เลยเห็นถึงตัวประกอบของเรื่องที่คอยช่วยเหลือสโนว์ไวท์ ก็เลยอยากดึงตัวประกอบในเรื่องที่ไม่มีคนจดจำให้มาเป็นตัวเองในเรื่องราวของตัวเองบ้าง

โดยการออกแบบเป็นลายภาพพิมพ์ โดยนำสัตว์ที่มาออกแบบคาแรคเตอร์โดยเราเองมาใส่สีให้มีความสดใสน่ารัก โดยวัสดุที่ใช้คือผ้าไหมสเปน นำมาทำเป็นผ้าคลุมไหล่และผ้าอเนกประสงค์ก็ได้


 

Impression Udaipura

พราวเพชร ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา


ตอนพรีธีสิสเลือกคอนเซปต์เรื่องการเดินทาง เพราะเราเป็นคนที่ชอบเที่ยวก็เลยเลือกสิ่งที่ชอบมา จากนั้นก็ได้ไปทริปหนึ่งที่อินเดีย ก็รู้สึกประทับใจมากเลยกับทริปนี้ พวกสถาปัตยกรรม จิตรกรรม ดีหมดเลย รู้สึกชอบมาก เลยลองปรับมาทำเป็นธีสิส

แล้วก็รู้สึกว่าผู้หญิงในทุก ๆ วันนี้ต้องมีกระเป๋าสักใบหนึ่ง กระเป๋าอะไรก็ได้ ก็เลยออกแบบเป็นกระเป๋่าแล้วทำลวดลายเป็นของแบบอินเดีย พวกสถาปัตยกรรมที่เราพบเห็น โดยใช้การเลเซอร์คัต การเย็บปักไหมและลูกปัดหิน


 

Freaks of the deep sea

วิรากร ฑีฆธนานนท์


เป็นงานเกี่ยวกับสัตว์โลกใต้ทะเล เหมือนเอาฟอร์มของสัตว์ใต้ทะเลน้ำลึกมาสร้างเป็นลวดลาย โดยการออกแบบลวดลายแล้วปรินต์ลงบนผ้า ใช้เทคนิค digital print แล้วเพนท์สีเรืองแสง คือสามารถเรืองแสงได้ทุกชิ้น ลวดลายทุกอย่างออกแบบเอง โดยที่เลือกสัตว์โลกใต้ทะเลน้ำลึกเพราะมันมีรูปร่างที่แปลกประหลาด เอาไว้ล่อสัตว์ใต้ทะเลด้วยกันเองมาเป็นอาหารเพื่อให้มีชีวิตรอดในสภาพแวดล้อมนั้น


 

PHI TAM KHON

ชุติมา วัฒนหิรัญ


ได้รับแรงบันดาลใจจากผีตาโขน โดยการนำฟอร์มของหัวผีตาโขนและชุดผีตาโขนมาสร้างเป็นผลงานศิลปะ art were design ที่เลือกผีตาโขนเพราะเป็นความชอบส่วนตัวและหลงใหลในประเพณีนี้ เพราะความมีสีสันและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว


โดยออกแบบโครงมาก่อนแล้วใช้วิธีถักนิตติ้งครอบไปอีกที โดยใช้ไหมพรมหลาย ๆ สี หลาย ๆ เฉดมาใช้


 

เครื่องแขวนไทย

นพธิดา ทาแก้ง


เป็นโคมไฟที่ได้อินสไปร์มาจากเครื่องแขวนไทย แนวคิดคือต้องการนำเครื่องแขวนไทยกลับมาสู่บ้านเรื่อนในยุคปัจจุบันในรูปแบบไทยร่วมสมัย โดยใช้เทคนิคเลเซอร์คัทและมีโครเชต์ผสมด้วย วัสดุจะเป็นพวกหนัง พีวีซี และลูกปัดที่มีความมันวาว สะท้อนแสง


 

upcycled

ดวงฤทัย​ หล้าเลิง


แรงบันดาลใจได้มาจากขยะเสื้อผ้า และเสื้อผ้ามือสอง มันเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่คนละเลย เราคิดถึงแค่ขยะจากพลาสติกเป็นปัญหาใหญ่ ขยะเสื้อผ้าก็เป็นปัญหาใหญ่เช่นกัน ก็เลยคิดว่าจะนำเสื้อผ้ามือสองที่ไม่ใช้แล้วจะเอามาทำอะไรได้บ้าง เลยลองเลือกเป็นผ้ายีนส์ ผ้ายีนส์มีลักษณะที่มีความคงทน แข็งแรง ที่จะนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เลยเลือกออกแบบเป็นประเภทโฮมโปรดัก เลยคิดออกมาเป็นหมอน 1 ใบที่สามารถถอดแยกออกจากกันได้ โดยใช้ใยสังเคราะห์ที่เหลือจากโรงงานและถั่วเขียวให้มีเท็กเจอร์ มีเบาะนอนที่สามารถถอดซักได้ตามปกติ และนำเศษยีนส์มาสานกับหนังทำเป็นเก้าอี้ โดยเป็นการใช้ของที่ไม่มีค่ามาทำให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น


 

สัมภาษณ์โดย: ชลธิชา จันทร์แจ่ม, มัลลิกา โลหะประภากุล

เรียบเรียงโดย: ชลธิชา จันทร์แจ่ม

ถ่ายภาพโดย: อันนา เกิดทวี

ดู 639 ครั้ง

Comments


bottom of page