top of page
  • รูปภาพนักเขียนArthouse School

Interview : Kamonnart สาวแฟชั่นนิสต้าที่มองทุกอย่างรอบตัวเป็นศิลปะ



คุณคิดว่าศิลปะกับชีวิตของคนเรามีผลเป็นแรงขับเคลื่อนต่อกันและกันหรือไม่ หลายครั้งหลายหน เรากลับมองว่าศิลปะเป็นเรื่องไกลตัว ทั้งๆ ที่หันไปรอบตัว ทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่เสื้อผ้าที่เราสวมใส่ไปจนถึงเฟอร์นิเจอร์สักชิ้นในที่ทำงาน ล้วนมีพื้นฐานมาจากศิลปะด้วยกันทั้งสิ้น ของหนึ่งอย่างที่คุณเลือกใช้นั้นหากคุณมองว่ามันสวย นั่นก็เป็นเพราะเซ้นทางศิลปะบางอย่างที่คุณมีทำให้คุณเลือกมองสิ่งต่างๆ ได้ตามรสนิยมของคุณเอง นี่ก็ถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่ทุกคนเข้าถึงได้ไม่ยาก


อุ้ง - กมลนาถ (Kamonnart)

- อัพเดทชีวิตช่วงนี้หน่อยว่าอุ้งกำลังทำอะไรอยู่บ้าง ตอนนี้กำลังมาเรียนต่อป.โท สาขา Textiles (เอก Print) ที่ Royal College of Art มหาวิทยาลัย ศิลปะและดีไซน์ที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษค่ะ เป็นมหาลัยที่มีเปิดสอนแต่ป.โท ขึ้นไปเท่านั้น

- ทำไมถึงสนใจแฟชั่นและศิลปะ จนตัดสินใจเลือกมาสายนี้ สนใจศิลปะมาตั้งแต่เด็กแล้วแบบไม่รู้ตัว เหมือนอยู่ในสัญชาตญาณ ชอบวาดรูปและขีดเขียนผนัง ไม่ ค่อยมีอะไรทำมากตอนเด็กๆก็เลยใช้เวลาไปกับการวาดรูปให้เต็มสมุด บวกกับสะสมและชอบเล่น ตุ๊กตากระดาษ จริงๆ ตอนแรกโตขึ้นอยากเป็นคนออกแบบตุ๊กตากระดาษจนพอโตขึ้นมาก็พบว่า เด็กยุคนี้ไม่เล่นกันแล้ว (หัวเราะ) แฟชั่นนี่เพิ่งมาสนใจทีหลังตอนโต ซึ่งไม่รู้อะไรเกียวกับมันเลยตอน แรก แต่เนื่องจากตึกคณะศิลปกรรมศาสตร์อยู่ติดกับ ร.ร.ตอน ม.ปลาย (เตรียมอุดม) ก็ได้อิทธิพล มาจากการเห็นกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในคณะ ซึ่งซึมซับมาโดยไม่รู้ตัว ตอนแรกเราก็ติวเข้าสถา ปัตย์เพราะว่าเรียนสายวิทย์มา คาดว่าจะได้ใช้วิชาฟิสิกส์ให้เป็นประโยชน์แต่พี่ติวไล่มาเรียนแฟชั่น เพราะว่าไปติวถาปัตย์แต่วาดแต่คน ไม่ยอมวาดรถกับต้นไม้มีความสุขกับการวาด figure และ ออกแบบเสื้อผ้ามากจนมาเจออาร์ตเฮาส์ก็เลยลองมาเรียนดูติวกับพี่ๆอยู่ประมาณครึ่งปีจนสอบ ตรงติดคณะศิลปกรรมศาสตร์จุฬา - arthouse มีอะไรที่แตกต่างจากที่อื่น อุ้งเลือกเรียนกับที่นี่เพราะอะไร เอาจริงๆ ตอนนั้นคือเลือกเรียนเพราะมันไม่มีที่ไหนติวแฟชั่น (หัวเราะ) แล้วก็พี่ๆ ที่ติวที่นี่เรียนที่คณะ ที่อยากสอบเข้าได้อยู่แล้ว บวกกับสถานที่ที่ใกล้โรงเรียน เดินทางสะดวก บรรยากาศในโรงเรียนน่า เรียน เพื่อนๆที่เจอกันตอนติวก็ยังเป็นเพื่อนกันจนถึงตอนนี้หลายๆคน สำหรับอุ้งรู้สึกว่าเหมือน บ้านหลังที่ 2 ในตอนนั้น อยากมาเรียนทุกวัน สนุก อยากเจอพี่ๆเพื่อนๆ ติวกันจริงจังมากตั้งใจ กว่าสอบที่โรงเรียน

- arthouse ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยหล่อหลอมเราหรือเปล่า เรียกได้ว่าเป็น step แรกของการหล่อหลอมเราเลยก็ว่าได้การได้เรียนกับพี่กิฟท์พี่เบิร์น พี่เอ็ด พี่ บอส ทำให้ได้ปูพื้นฐานที่สำคัญตั้งแต่เรื่อง figure drawing ไปจนถึงการเข้าใจวิธีคิด วิธีการ ออกแบบในเชิงแฟชั่น เป็นที่แรกที่ฝึกให้เราทดลอง คิดแบบนอกกรอบ ทำ sketchbook , collage การคิดแบบเชื่อมโยง มีเหตุมีผล เพราะการออกแบบไม่ใช่แค่การยำๆจับๆหลายอย่างมารวมกันแต่ ต้องผ่านกระบวนการคิดที่แม้จะสร้างสรรค์แต่ก็แยบยล รอบคอบและลงตัว ซึ่งทั้งหมดนี้มันเป็น methodology ทาง design ที่เรายังใช้มาจนถึงทุกวัน


- ศิลปะแขนงไหนที่อุ้งสนใจมากที่สุด อะไรคือเสน่ห์ของมัน จริงๆแล้วอุ้งสนใจศิลปะทุกแขนง ไม่ว่าสื่อที่ใช้จะเป็นอะไร ถ้าเรามีmessage หรือวิธีการทดลองที่ ถ่ายทอดผ่านมีเดียมนั้นสำหรับอุ้งมันก็เป็นศิลปะหมด แต่สิ่งที่ตรงจริตเราที่สุดในตอนนี้ก็คงเป็น textile อุ้งชอบแฟชั่นมาโดยตลอดในแง่ของอิทธิพลทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม แต่แฟชั่นใน ปัจจุบันนี้อยู่ใน cycle ที่ต้องปรับตัวตอบโจทย์ปัญหาต่างๆ ในโลกให้ได้ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องสิ่ง แวดล้อม ปัญหา fast fashion หรือความฉาบฉวยต่างๆ ของแบรนด์เราเลยลองมองลึกลงไป และ หาว่าอะไรที่จะมาต่อยอดและทำให้แฟชั่นไปต่อในอนาคตได้โดยที่ยัง sustain ระบบอยู่ ก็เลยมาสนใจ textile ที่ผ่านมาเราเรียนแฟชั่นโดยที่ไม่ได้รู้จักสิ่งที่เรียกว่าผ้า มันคือปัจจัย 4 อุ้งว่ามันมีแง่มุมด้าน สังคมที่เก่าแก่และยาวนานมาก ไม่ว่าจะแสดงออกมาในเทคนิคหัตถกรรมท้องถิ่นต่างๆ ที่น่าทึ่ง จนถึงปัจจุบันที่การผลิตก้าวหน้าไปถึงการผลิตเส้นใยจาก biomaterial หรือการใช้เทคโนโลยีพิเศษ ในการผลิตโครงสร้าง จะเห็นได้ว่าแฟชั่นทีใหม่ ในยุคนี้เกิดจากความก้าวหน้าของวัสดุ (material innovation) ทั้งนั้น แต่ที่สำคัญที่สุดคือมันเกี่ยวพันกับทั้ง art, design และ craft เราไม่จำเป็น ต้องไปกำหนดว่าสุดท้ายแล้วมันคือแฟชั่น เราอยากให้คนที่จะนำไปใช้ได้มีพื้นที่ในการตีความ ว่าผ้า ผืนนี้ควรจะกลายเป็นอะไร มันอาจจะเป็นทุกอย่างรวมกันเลยก็ได้


- เคยคิดว่าเด็กสมัยนี้ทำอะไรตามกันไหม อย่างการเรียนศิลปะอุ้งมองว่ามันเป็นเทรนด์หรือเปล่า เคยนะ แต่ก็ไม่แปลกใจเพราะเดี๋ยวนี้เด็กๆก็เสพย์ศิลปะจาก social media เป็นหลักใช่ไหม ถ้าหา inspiration จากที่เดียวกันก็ย่อมจะออกมาคล้ายๆกันอยู่แล้ว pinterest, instagram มันเปิดโลกมาก แต่มันก็เป็นดาบสองคมที่จะทำให้ทุกๆ คนมีreference หรือติดภาพอะไรเหมือนๆ กันไปหมด จริงๆ การเรียนศิลปะเป็นเทรนด์ที่ดีมากเลยนะ แต่ก็อยากให้เราทุกคนมีvoice ของตัวเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ สำคัญที่สุดแล้วในการเป็นศิลปินหรือนักออกแบบ เด็กๆสมัยนี้ก็อาจจะต้อง work hard กันหน่อย รวมทั้งตัวเราเองด้วย วิธีของเราก็คือเข้าห้องสมุดเยอะๆ และหาแรงบันดาลใจจากทุกอย่างรอบ ตัว และจากทุกศาสตร์อื่นๆ ไม่ใช่แค่จากอินเตอร์เน็ต - การเรียนศิลปะในเมืองนอก มีความแตกต่างกับเมืองไทยอย่างไรบ้าง แตกต่างอย่างมากที่สุดในเรื่องของความอิสระ และความเป็นตัวของตัวเอง การเรียนเมืองนอก ต้อง self direct มาก คือคุณต้องรู้ว่าคุณมาทำอะไร ต้องเขียน personal brief ให้ตัวเอง เมือง นอกให้ความสำคัญกับการค้นคว้า research และการเขียนมาก อยากรู้อะไรก็ขวนขวายเองซึ่งมันดี มากเพราะมันทำให้เราเป็น master of สิ่งนั้นจริงๆ แต่เปรียบเทียบกับที่ไทยรู้สึกว่า brief จะค่อน ข้างเฉพาะตัวและจำกัดมากคือโจทย์มีให้มาหมดแล้วว่าคุณต้องส่งอะไรบ้างจำนวนเท่าไร และเมื่อไร ความรับผิดชอบและการบริหารเวลาเลยแตกต่างกันมาก แน่นอนว่าการมีคนสั่งและจี้มันจำกัดกว่า แต่จริงๆ มันสบายกว่านะเพราะยังไงเราก็รู้ว่าเราต้องทำอะไร ไม่มีหลงทางแน่ๆ แต่การมาเรียนเมือง นอกนี่มันคือการออกจาก comfort zone แบบสุดๆ คุณต้องจี้ตัวเองเพราะไม่มีใครมาจี้คุณ นอกจากเรื่องฝึกความรับผิดชอบนี้แล้วก็ยังเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อมที่ได้ด้วยเพราะว่าทั้งผู้คนรอบๆ และ spirit ของเมืองที่อยู่มัน creative และก็สร้างแรงบันดาลใจมากๆ


- สภาพแวดล้อม มีส่วนช่วยให้เราทำงาน สร้างสรรค์ได้ดีขึ้นไหม สภาพแวดล้อมมีส่วนเป็นอันดับต้นๆเลย การอยู่ ในสังคมที่ share common mind หรือมีแนวคิด มีความสนใจคล้ายคลึงกัน เป็นตัวขับเคลื่อนให้ ความคิดสร้างสรรค์ของเราพลุ่งพล่าน ไม่ต้อง กลัวว่าจะผิด หรือถูก เพราะทุกคนสามารถมี อิสระทางการแสดงออก ไม่มีใครสนใจว่าคุณจะ แต่งตัวอะไรมาโรงเรียน จนหรือรวย ใช้ของแบ รนด์เนมหรือไม่ หรือคุณจะเสพอะไร ทุกอย่างวัด กันที่ฝีมือ คือ at the end of the day แล้ว คุณ ทำอะไรออกมาเป็นชิ้นเป็นอันบ้างและมัน original แค่ไหน ทั้งหมดนี้ทำให้เรากล้าที่จะเป็นตัว ของตัวเองจริงๆ ไม่กลัวคำวิจารณ์ตราบใดที่เรา เชื่อมั่นในสิ่งที่ตัวเองทำ และได้หา voice ของตัว เองในงานออกแบบ สิ่งแวดล้อมนี่ไม่ได้หมายถึง เฉพาะแค่ในโรงเรียนแต่เป็นผู้คน เพื่อนๆ ในคลาส อีเว้นต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเมือง นิทรรศการ สถาปัตยกรรม วัฒนธรรม พลวัตรทางสังคม ทั้งหมดหล่อหลอมให้ความคิดเราไม่ติดอยู่ในกรอบ ที่เราถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่เด็กๆ ผ่านระบบการศึกษาที่ไทย

- นอกเหนือจากศิลปะที่อุ้งสนใจ มีด้านไหนบ้างที่อุ้งอยากเพิ่มเติมมัน ยังมีอีกหลายด้านเลยที่อยากเพิ่มเติม คือการเรียนมันสนุกสำหรับอุ้ง ที่อยากเพิ่มที่สุดก็คงเป็น เรื่องเทคนิคดั้งเดิมที่หาเรียนได้ยาก อยากนำมาผสมกับดีไซน์แบบ contemporary และวัสดุหรือ เทคนิคการผลิตสมัยใหม่ แล้วก็อยากฝึก automatic drawing และ writing ดู (การวาดและเขียน จากสิ่งที่อยู่ภายใต้จิตใต้สำนึก โดยปราศจากเหตุผล) เพื่อที่จะได้หลุดจากกรอบเดิมๆของตัวเอง และอาจจะเจอสิ่งที่เป็นตัวเองอย่างแท้จริง


- Role Model ในการใช้ชีวิตของอุ้ง role model ในการใช้ชีวิตไม่มี แต่ถ้า role model เรื่องงาน ชอบสปิริทของผู้หญิงเก่งที่เป็นแรง บันดาลใจ เช่น Reiko Sudo แห่ง Nuno corporation (บริษัทผ้าที่ญี่ปุ่น) ที่เป็นแรงบันดาลใจมากๆ ในเรื่องการผสมผสานงานผ้าดั้งเดิมกับเทคนิคสมัยใหม่ ส่วนผู้หญิงเก่งแห่งแฟชั่นชอบ Coco Chanel, Phoebe Philo และ Armi Ratia ผู้ก่อตั้ง Marimekko อุ้งชอบอ่านบทสัมภาษณ์ของคน เหล่านี้เป็นแรงบันดาลใจในการทำงาน - ไลฟ์สไตล์ทั่วไปในชีวิต ตั้งแต่ตื่นจนเข้านอน ปัจจุบันนี้คือ ตื่น ไปโรงเรียน ทำงานในสตูดิโอที่โรงเรียน เข้าห้องสมุด ทำงานพิเศษหรือเรียน swing dance บางวันตอนเย็น กลับบ้าน ทำอาหารสำหรับวันต่อไปอ่านหนังสือ อ่านโน่นอ่านนี่หา อินสไปเรชั่นในอินเตอร์เน็ต แล้วก็เข้านอน (หัวเราะ) เสาร์-อาทิตย์มักจะหาที่น่าสนใจไปหรือไปดู นิทรรศการศิลปะต่างๆ ที่เข้ากับมู้ดในตอนนั้น - เด็กสมัยนี้ชอบคิดว่าอะไรๆ ก็ได้มาง่ายดาย อยากจะ slowlife อย่างเดียว ในฐานะเป็นรุ่นพี่ อยากบอกอะไรกับน้องๆ คนที่ slow life อย่างเดียวได้ก็น่าอิจฉาที่เค้าสามารถมีความสุขกับความเรียบง่ายได้ เพียงแต่ว่า ต้องระวังอย่าสับสนระหว่างชีวิตที่แท้กับการหนีความจริงไปละเมออยู่ในฝัน ส่วนตัวเราว่า slowlife ตลอดเวลาน่าเบื่อออก เลือก pace ให้เหมาะกับตัวเอง fast บ้าง slow บ้าง ให้สมดุล ถ้าคุณไม่เคย ผ่านจุดที่ fast มากๆ คุณจะไม่รู้คุณค่าของ slow life ที่แท้จริงเลย คนที่จะประสบความสำเร็จแบบ ยั่งยืน ชีวิตสวยหรูสโลวไลฟ์ในฝันได้ถ้าบ้านไม่รวยล้นฟ้า เค้าก็ต้องผ่านจุดที่ทำงานหนักกันมา แล้วทั้งนั้น เพียงแต่มันไม่ได้ถูกพูดถึงในสื่อ ถ้ายังไม่เคย ขอให้ลองทำดูมาทำด้วยกัน

“There is no shortcut to the life you want"

 

© Copy Right artHOUSE Institute, All Rights Reserved.

ไม่อนุญาติให้นำบทความไปดัดแปลง, เขียนใหม่, หรือนำไปเผยแพร่ในที่สาธารณะโดยไม่ใส่เครดิตหรือได้รับอนุญาติ

ดู 86 ครั้ง
bottom of page